ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ไทย พีบีเอส

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (อังกฤษ: Thai PBS) เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดำเนินการโดยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ออกอากาศแทนสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ในวันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ก่อนแพร่ภาพอย่างเป็นทางการในอีก 1 เดือนต่อมา

สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ ทำให้กรมประชาสัมพันธ์มีคำสั่งให้สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวียุติการออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ช่อง 29 (เป็นระยะเวลาชั่วคราว)เมื่อเวลา 24.00 น. ของวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551 และเมื่อเวลา 00.08 น. ได้เปลี่ยนมาออกอากาศนโยบายของสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ จากนั้นเป็นสารคดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อย่างต่อเนื่อง ในนาม สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส ของวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 โดยทั้งหมดส่งสัญญาณออกอากาศจากอาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นเวลา 16 วัน

ภายหลังการออกอากาศของสถานีไม่กี่ชั่วโมง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวขององค์การแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะแห่งประเทศไทย จำนวน 5 คนอันประกอบด้วย ขวัญสรวง อติโพธิ, อภิชาต ทองอยู่, ณรงค์ ใจหาญ, นวลน้อย ตรีรัตน์ และ เทพชัย หย่อง เพื่อปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการนโยบายชั่วคราวจนกว่าจะมีคณะกรรมการนโยบายที่มาจากการสรรหาตามกฎหมาย ในวันเดียวกันคณะกรรมการนโยบายชั่วคราวขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ TPBS ได้เปิดแถลงข่าวที่โรงแรมเรดิสัน แต่งตั้ง นายขวัญสรวง อติโพธิ เป็นประธานกรรมการ และมี นายเทพชัย หย่อง เป็น รักษาการผู้อำนวยการสถานีและมีการเปิดตัวโลโก้ของสถานีใหม่ด้วย โดยเป็นรูปลักษณะคล้ายหยดน้ำ และมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ TPBS อยู่ใต้ภาพ กระทั่งเวลา 15.30 นาฬิกาของวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551 องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยจึงเริ่มดำเนินการ สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส อย่างเต็มตัว โดยได้ทดลองออกอากาศรายการพิเศษ "นับหนึ่งโทรทัศน์สาธารณะไทย TPBS" จากห้องส่งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก และนับเป็นรายการสดที่ออกอากาศจริงทางสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวเป็นครั้งแรก โดยเนื้อหาของรายการเป็นการอธิบายและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไปของสถานีโทรทัศน์ มีณาตยา แวววีรคุปต์ อดีตผู้สื่อข่าวไอทีวีชุดกบฏไอทีวี เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีผู้ร่วมรายการประกอบด้วย ขวัญสรวง อติโพธิ ณรงค์ ใจหาญ อภิชาติ ทองอยู่ กรรมการนโยบายชั่วคราวขององค์การฯ และ อนุสรณ์ ศรีแก้ว คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต หลังจากนั้น สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอสกลับมาออกอากาศรายการสารคดีอย่างต่อเนื่อง

กระทั่งวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ได้เปิด สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ขึ้นอย่างเป็นทางการ แทนที่สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส แต่ยังคงใช้ตราสัญลักษณ์แบบเดิม เพียงเปลี่ยนชื่อด้านล่างตรา พร้อมทั้งประกาศผังรายการใหม่ในช่วงเวลา 18.00 - 24.00 น. เพื่อทดลองออกอากาศในระยะแรก ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และกลับไปส่งสัญญาณช่องความถี่โทรทัศน์เดิม(ยูเอชเอฟ ช่อง 29)อีกครั้ง จากอาคารสำนักงานของ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) คืออาคารชินวัตร 3 ถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

ในระยะนี้ ผังรายการช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ระหว่าง 18.00-24.00 น. มีรายการที่สำคัญ คือ ร่วมคิด ร่วมสร้าง ไทยพีบีเอส ในเวลา 20.00 น. ซึ่งเป็นรายการสด จัดโดยฝ่ายข่าวและฝ่ายรายการของไทยพีบีเอส มีเนื้อหาเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม ถึงทัศนคติว่าด้วยทีวีสาธารณะและความเหมาะสมในการออกอากาศรายการประเภทต่างๆ ในแต่ละช่วงเวลา แม้ยังไม่มีการออกอากาศของรายการข่าว แต่ได้ทดลองนำเสนอข่าวโดยส่งผู้สื่อข่าวไปสัมภาษณ์ ณ ทำเนียบรัฐบาล

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เริ่มเปิดสถานีในเวลา 05.00 น. และอีก 1 ชั่วโมงต่อมาคือเวลา 06.00 น. เป็นการเสนอของรายการข่าวรายการแรกคือ ข่าวเช้า ไทยพีบีเอส โดยมีผู้ประกาศข่าว คือภัทร จึงกานต์กุล และปิยณี เทียมอัมพร เป็นผู้ประกาศข่าวคู่แรกของสถานีฯ

ช่วงเวลา 05.00 - 18.00 น. เป็นการฉายสารคดีซึ่งเดิมทีได้ฉายเป็นปกติอยู่แล้วในช่วงก่อนเปิดสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

ส่วนรายการข่าวนั้น องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เห็นชอบให้อดีตพนักงานฝ่ายข่าวของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเดิม จำนวน 274 คน จากทั้งหมด 399 คน เป็นผู้ดำเนินการไปพลางก่อนในระยะเริ่มแรก เช่น เกื้อกูล นุชตเวช ธีรัตถ์ รัตนเสวี รุ่งทิพย์ โชตินภาลัย ภัทร จึงกานต์กุล ปิยณี เทียมอัมพร , อารยา ต่อตระกูล , กมลวรรณ ตรีพงศ์ , อนุวัต เฟื่องทองแดง , ศจี ชลายนเดชะ, กฤต เจนพาณิชการ, เอกราช อุดมอำนวย, รุ่งทิพย์ โชตินภาลัย, ธนวรรณ มิลินทสูต และทีมข่าวกีฬาชุดเดิมของสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี และยังมีผู้สมัครจากภายนอกและออกอากาศไปพลางก่อนในระยะเริ่มแรกด้วย เช่น ประวีณมัย บ่ายคล้อย, ชัยรัตน์ ถมยา, อรชุน รินทรวิฑูรย์, ณาตยา แวววีรคุปต์, กรุณา บัวคำศรี ระหว่างนั้น สถานีฯ มีการปรับผังรายการเป็นระยะ ๆ ช่วงต้นเดือน

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 องค์การฯ จึงจัดงานเปิดตัวอัตลักษณ์ใหม่ของสถานีฯ ตามที่ได้จัดประกวดไปก่อนหน้านี้ พร้อมเปลี่ยนชื่อสถานีอีกครั้งเป็น ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ส่วนชื่อไทยพีบีเอส ใช้เป็นชื่อขององค์การเพียงอย่างเดียวเท่านั้น (ถึงแม้ยังจะมีชื่อ Thai PBS อยู่ในอัตลักษณ์ก็ตาม)

ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการปรับผังรายการ ให้มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน รวมถึงความบันเทิงเชิงสาระมากขึ้น โดยตราสัญลักษณ์รูปแบบใหม่ จะมีข้อความ ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ต่อท้าย ขณะที่ปรากฏขึ้นในกราฟิกขึ้นต้นรายการ และกราฟิกของทุกช่วงข่าวด้านล่าง

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552 ในโอกาสครบรอบ 1 ปีของทีวีไทย จึงมีการปรับผังรายการ รวมถึงเปลี่ยนฉาก และรูปแบบของอัตลักษณ์อีกครั้ง เป็นลายเส้นภาพนกเช่นเดิม แต่เปลี่ยนเป็นสีส้มอมแดง ลอยตัวอยู่เหนือตัวอักษร ทีวีไทย พร้อมทั้งปรับปรุงเว็บไซต์ ให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยระบุชื่อสถานีฯ ว่า สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย

ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยได้เปลี่ยนชื่อ ทีวีไทย กลับไปเป็นไทยพีบีเอส อย่างเป็นทางการเหมือนในช่วงที่เริ่มออกอากาศ 3 เดือนแรก แต่เปลี่ยนจากคำว่า ไทย เป็น Thai ซึ่งการใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Thai PBS ทั้งนี้ได้มีการย้ายส่วนปฏิบัติการสถานีไปยังตึกสำนักงานถาวรอย่างเป็นทางการด้วย โดยก่อนหน้านั้น ส.ส.ท. ได้เปลี่ยนการเรียกชื่อสถานีในรายการข่าวทุกภาคให้เรียกชื่อสถานีเป็น "ไทยพีบีเอส" ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยเริ่มเรียกชื่อใหม่นี้ในช่วงทันข่าว 10.00 น. เป็นครั้งแรกโดยมี อัครพล ทองธราดล ผู้ประกาศข่าวของสถานีเป็นผู้ประกาศในช่วงดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้มีการเปลี่ยนชื่อสถานีก่อนล่วงหน้าในไตเติ้ลของรายการโทรทัศน์ เช่น ละครโทรทัศน์ญี่ปุ่น เรียวมะ จอมคนพลิกแผ่นดิน เป็นต้น รวมถึงในเว็บไซต์ของสถานีฯ ด้วย

ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยได้ย้ายที่ทำการจากที่ทำการชั่วคราวอาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ถนนวิภาวดีรังสิต ไปยังที่ทำการถาวรแห่งใหม่ ข้างสโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งทำให้ไทยพีบีเอสเริ่มระบบการออกอากาศใหม่ ด้วยระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง สัดส่วน 16:9 เป็นแห่งแรกของฟรีทีวีของประเทศไทย ในส่วนการออกอากาศผ่านระบบดาวเทียม

ในช่วงเกิดอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 การทำข่าวประจำวันของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเป็นไปอย่างยากลำบาก ทางสถานีฯ ได้พิจารณาตั้งศูนย์ข่าวเฉพาะกิจ ไทยพีบีเอส-จุฬา นิวส์ เซ็นเตอร์ ที่ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านสื่อดิจิตอล อาคารมงกุฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้การเกาะติดสถานการณ์ข่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยเตรียมพร้อมระบบ เพื่อรองรับการออกอากาศตั้งแต่วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 และมีทีมงานฝ่ายข่าวบางส่วนมาทำงานยังศูนย์ข่าวเฉพาะกิจ เพื่อผลิตรายการข่าวหลัก ๆ หลังการออกอากาศประมาณ 20 วัน สถานการณ์โดยรวมของภาวะน้ำท่วมบนถนนวิภาวดีรังสิตดีขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหน้าสำนักงานใหญ่ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจึงยุติการออกอากาศจากศูนย์ข่าวเฉพาะกิจ ไทยพีบีเอส- จุฬา เพื่อกลับมาออกอากาศ ณ ที่ทำการ ส.ส.ท.สำนักงานใหญ่ เขตหลักสี่ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมายังองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ทรงกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้ายชื่ออาคารสำนักงานใหญ่อย่างเป็นทางการ ในโอกาสนี้ทอดพระเนตรห้องออกอากาศส่วนปฏิบัติงานต่างๆ รวมทั้งทอดพระเนตรห้องออกอากาศ 1 ที่ใช้สำหรับการออกกาศข่าว จากนั้นทรงทดลองอ่านข่าว ซึ่งทางกองบรรณาธิการได้ถวายบทข่าวและถวายคำแนะนำในการอ่านข่าวโทรทัศน์และวิธีการใช้อุปกรณ์สำหรับผู้ประ?กาศข่าว จากนั้นทอดพระเนตรห้องออกอากาศที่ใช้เป็นห้องออกอากาศรายการต่างๆ อาทิ รายการตอบโจทย์ รายการสถานีประชาชน และรายการศิลป์สโมสร เนื่องจากเป็นห้องออกอากาศที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุด สามารถเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมชมการบันทึกรายการได้ และยังได้ทอดพระเนตรห้องควบคุมระบบการออกอากาศ 24 ชั่วโมง

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557 ไทยพีบีเอส ดำเนินการปรับเปลี่ยนสัดส่วนภาพออกอากาศในระบบความคมชัดมาตรฐานหรือ SD จาก 4:3 (แบบ Center crop ภาพจากระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง) เป็น 16:9 (Anamophic) เพื่อรองรับการออกอากาศโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในปี พ.ศ. 2557

เป็นการจัดตั้งสถานีเครื่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ในจังหวัดหรืออำเภอต่างๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง โดยใช้คลื่นความถี่ยูเอชเอฟ (UHF) ทางช่อง 29 และใช้มาตรฐานของ Video ระบบ PAL G ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน CCIR โดยช่องสัญญาณย่านความถี่ UHF สำหรับกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทยได้จัดสรรไว้ที่ย่านความถี่ที่ 4 ถึง 5 ตั้งแต่ช่องที่ 26 ถึง 60 หรือมีความถี่อยู่ระหว่าง 510 ถึง 790 MHz.

ไทยพีบีเอสมีสถานีส่งสัญญาณภาคพื้นดินเป็นจำนวน 52 สถานี แบ่งเป็นในกรุงเทพมหานคร 2 สถานี ภาคเหนือ 14 สถานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 สถานี ภาคกลางและตะวันออก 11 สถานี และภาคใต้ 12 สถานี โดยคลื่นความถี่ระบบยูเอชเอฟและเครื่องส่งโทรทัศน์

ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2556 ไทยพีบีเอสได้เริ่มทดลองแพร่ภาพออกอากาศด้วยระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน (Digital TV) มาตรฐาน DVB-T2 โดยทดลองออกอากาศร่วมกับสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ซึ่งจะสามารถรับชมได้ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยผ่านกล่องรับสัญญาณหรือโทรทัศน์ที่รองรับการแพร่ภาพระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน

วันที่ 1 เมษายน 2557 ไทยพีบีเอส ได้เริ่มการออกอากาศโทรทัศน์ด้วยระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน (Digital TV) มาตรฐาน DVB-T2 โดยใช้โครงข่ายตัวเอง ปัจจุบันออกอากาศแล้ว 39สถานีหลักทั่วประเทศ มีที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด ท่านสามารถรับชม ไทยพีบีเอส HD ได้ที่ช่องหมายเลข3 ผ่านทางกล่องรับสัญญาณหรือโทรทัศน์ที่รองรับการแพร่ภาพระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน

ไทยพีบีเอสส่งสัญญาณแพร่ภาพผ่านดาวเทียมไทยคม 5 ย่านความถี่ C-Band ในระบบ DVB-S หรือ Digital Video Broadcast - Satellite ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสำหรับการส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในแบบดิจิตอล สัญญาณดาวเทียมนี้ครอบคลุมประเทศไทยทั้งประเทศ เอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้

อดีตไทยพีบีเอสเริ่มแพร่ภาพออกอากาศมาตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ทางดาวเทียมไทยคม 2 คลื่นความถี่ 4145 Symbol Rate แนว H แต่เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ไทยพีบีเอสได้ย้ายส่งสัญญาณจากดาวเทียมไทยคม 2 มาเป็นไทยคม 5 ย่านความถี่ C-Band มาพร้อมกับความถี่ใหม่ ที่ 3985 Symbol Rate 4815 แนว V และปัจจุบัน ได้ย้ายความถี่ C-Band เป็นความถี่ 4017 Symbol Rate 1800 แนว V โดยความถี่เดิมจะยกเลิกในเดือนพฤศจิกายน 2555

วันที่ 21 พฤษภาคม 2554 - 16 ธันวาคม 2558 ไทยพีบีเอสส่งสัญญาณโทรทัศน์ความละเอียดสูง (High Definition Television) ในระบบ DVB-S2 MPEG4 AVC ทางดาวเทียมไทยคม 5 ย่านความถี่ C-Band ที่ความถี่ 4012 Symbol Rate 6400 แนว V ซึ่งสถานีออกอากาศระบบความคมชัดปกติควบคู่กันไปในความถี่เดิม

ตั้งแต่เวลา 02.30 น. ของวันที่ 16 ธันวาคม 2558 - 28 เมษายน 2559 ไทยพีบีเอสปรับเปลี่ยนความถี่ดาวเทียมและพารามิเตอร์ใหม่ ส่งสัญญาณโทรทัศน์ความละเอียดสูง (High Definition Television) ที่ความถี่ 3991.0 MHz, Symbol Rate 15 MSym, FEC 4/5, Pol. Vertical ซึ่งกล่องรับสัญญาณแบบ OTA จะสามารถปรับเปลี่ยนความถี่อัตโนมัติ ส่วนกล่องประเภทอื่นต้องปรับเปลี่ยนความถี่เอง

แต่หลังจากนั้นไม่นาน สัญญาณคลื่นความถี่เดิมมีปัญหารบกวน จึงทำให้ทางไทยพีบีเอสปรับเปลี่ยนความถี่ดาวเทียมและพารามิเตอร์ใหม่ ส่งสัญญาณโทรทัศน์ความละเอียดสูง (High Definition Television) อีกครั้ง ที่ความถี่ 4007.0 MHz, Symbol Rate 15 MSym, FEC 4/5, Pol. Vertical ตั้งแต่เวลา 02.30 น. ของวันที่ 28 เมษายน 2559 - ปัจจุบัน

ไทยพีบีเอสเคยทำการถ่ายทอดสดออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ในชื่อ ThaiPBS Web TV ผ่านทางเว็บไซต์ของไทยพีบีเอสเอง และ Youtube ThaiPBS ดังนี้

ไทยพีบีเอสพักการออกอากาศในช่วงเวลาปกติ ระหว่างเวลา 02.00-05.00 น.โดยจะออกอากาศเป็นภาพทดสอบ (ต่างจากเมื่อสมัยครั้งยังเป็นสถานีโทรทัศน์ไอทีวีในปี พ.ศ. 2543-2550 ที่ออกอากาศ 24 ชั่วโมงแบบไม่มีปิดสถานีเลยแม้แต่ชั่วโมงเดียว) ยกเว้นหากเกิดเหตุการณ์สำคัญ เช่น รายงานข่าวด่วน ทางสถานีฯ จึงออกอากาศอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะจบการรายงาน

คณะกรรมการบริหารสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้รับการแต่งตั้งจาก ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. มีองค์คณะประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน คือ รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ด้านบริหารและปฏิบัติการ โดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกแปดคน ชุดปัจจุบันแต่งตั้งเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2558 มีดังต่อไปนี้

ตราสัญลักษณ์ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้มีการเปลี่ยนแปลง 5 ครั้ง จนถึงปัจจุบัน ดังต่อไปนี้

ตราสัญลักษณ์ของสถานี เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ที่ โรงแรมเรดิสัน โดยมีการแถลงว่าตราสัญลักษณ์ดังกล่าวออกแบบเพื่อใช้ชั่วคราว จนกว่าจะมีการประกวดสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการในอนาคต

ต่อมา เมื่อเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ในนามสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ ยังคงใช้สัญลักษณ์ที่ออกแบบครั้งแรก แต่เปลี่ยนข้อความใต้ภาพเป็น ไทย PBS ตามชื่อสถานีฯ ระหว่างนั้นก็ได้มีการประกวดออกแบบอัตลักษณ์ใหม่ ได้แก่ สัญลักษณ์ (logo) และ interlude ของทางสถานี

จากการประกวดออกแบบอัตลักษณ์สถานีฯ ผลปรากฏว่าแบบของทีม KITWIN ได้รับรางวัลชนะเลิศ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ซึ่งแนวคิดในการออกแบบคือความเป็นอิสระ โดยใช้นกพิราบเป็นเครื่องหมายของความมีอิสระ ประกอบกับอักษรไทยคำว่า ไทย และมีอักษรภาษาอังกฤษคำว่า Thai PBS (ชื่อองค์การ) กำกับที่ตอนบน ตราสัญลักษณ์นี้ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยได้แถลงเปิดตัวอย่างเป็นทางการ พร้อมกับการประกาศเปลี่ยนชื่อสถานีโทรทัศน์เป็น ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 และเริ่มใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ต่อมาเพื่อเฉลิมฉลองวันครบรอบ 1 ปีของทีวีไทย ส.ส.ท. ได้ปรับปรุงตราสัญลักษณ์ใหม่ โดยทำออกมาเป็น 3 รูปแบบ คือ ตราสัญลักษณ์ขององค์การฯ ตราสัญลักษณ์ของทีวีไทย และตราสัญลักษณ์ของวิทยุไทย สำหรับสัญลักษณ์ใหม่ที่องค์การฯ ยังคงใช้ลายเส้นภาพนกสีส้ม กำลังกระพือปีกบินไว้เช่นเดิม แต่ปรับปรุงส่วนหัวนกเป็นสีส้ม เช่นเดียวกับส่วนปีก เพื่อแยกสัญลักษณ์รูปนก กับตัวอักษร ย ที่อยู่กับคำว่า ไทย ในตราสัญลักษณ์เดิมออกจากกัน ให้เป็นลักษณะภาพลอยตัว เพื่มคำว่าทีวี และเปลี่ยนเป็นสีส้มอมแดง โดยเป็นตราที่จะใช้ร่วมกับ ส.ส.ท. และ วิทยุไทย ซึ่งจะเปลี่ยนเพียงข้อความกำกับ ในส่วนล่างสุดเท่านั้น คือ สสท, ทีวีไทย, วิทยุไทย**

เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเรียก Thai PBS จึงได้มีการปรับตราสัญลักษณ์ใหม่ โดยยังคงใช้รูปนกพิราบสีส้มอมแดง แต่เปลี่ยนตัวอักษรใต้รูปเป็น Thai PBS***

ในทุกช่วงข่าวของไทยพีบีเอส จะมีการรวมเอาตราสัญลักษณ์ของสถานีมาเข้าไว้กับคำว่า ข่าว หรือ ทันข่าว ทำเป็นสัญลักษณ์ประจำรายการข่าวของไทยพีบีเอสทุกรายการที่บริเวณมุมล่างซ้ายของจอ โดยได้ใช้ไปเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 จึงนำตราสัญลักษณ์ของสถานีออกจากคำว่า ข่าว หรือ ทันข่าว แต่ต่อมาได้กลับมาแสดงสัญลักษณ์ประจำรายการข่าวแบบนั้นอีกครั้ง ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2558 เฉพาะช่วงข่าวเที่ยงและชั่วโมงข่าว 17:00 น. (ภายหลังปรับเวลามาเป็น 16:00 น.)

(หมายเหตุ : * ในหน้าจอโทรทัศน์ จะใช้สีขาวแสดงสัญลักษณ์ ,** ในยุคแรก ได้มีการแสดงเว็บไซต์ของสถานีปรากฏบนหน้าจอ โดยแสดงในเวลาเพียง 10 วินาที จึงหายไป ทุกๆ 1 นาทีโดยประมาณ จะมีการแสดงเว็บไซต์ครั้งละ 1 ครั้ง โดยมีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้แสดงเพียงรูปนกเพียงอย่างเดียว ไม่มีตัวอักษรทีวีไทยปรากฏ ,*** นับตั้งแต่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557 ได้ใช้รูปแบบตามรายละเอียดของตราสัญลักษณ์ Thai PBS ตามที่กล่าวข้างต้น เพียงแต่เพิ่มกล่องที่มีคำว่า "HD" มาวางที่ด้านขวาสุดของจอทีวี จนกระทั่งวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 หลัง กสทช. มีประกาศให้ผู้ให้บริการโทรทัศน์ดาวเทียมเรียงช่องโทรทัศน์ดิจิทัลเป็นลำดับที่ 1-36 ไทยพีบีเอสย้ายคำว่า HD ไปไว้ที่ด้านบนอัตลักษณ์เหนืออักษร S ส่วนกล่องที่มีคำว่า HD เดิมนั้น แทนที่ด้วยเลข 3 ซึ่งเป็นลำดับการออกอากาศระบบดิจิทัลของไทยพีบีเอสเอง )

กราฟิกข่าวของไทยพีบีเอสตั้งแต่เริ่มแรก เป็นรูปลูกโลกมีเปลือกทรงกลมล้อมรอบ ต่อมาเปลี่ยนเป็นเส้นพุ่ง เช่นเดียวกับสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ต่อมา เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552 สถานีฯ เปลี่ยนเป็นช่องสี่เหลี่ยมเรียงกันเป็นตาราง โดยต้องการสื่อถึงความรวดเร็วในการรายงานข่าว

ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554 ฝ่ายกราฟิก สำนักโทรทัศน์ ได้จัดทำกราฟิกหน้าจอใหม่ โดยกราฟิกเข้าข่าวมีความคล้ายคลึงกับกราฟิกในช่วงแรกเริ่มสถานีผสมกับช่วงที่ใช้ชื่อ ทีวีไทย เพียงแต่เพิ่มสีสันให้มากขึ้น และมีการบอกเวลาในไตเติลข่าว ส่วนรายการที่นี่ ไทยพีบีเอส ใช้การบอกเวลาในไตเติ้ลเข้ารายการเป็นรูปนาฬิกาแบบเข็มสั้น-ยาว เริ่มใช้เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ข่าวทุกช่วงในวันจันทร์-ศุกร์ , ข่าวเที่ยง และข่าวค่ำในวันเสาร์-อาทิตย์ จะใช้ตัวเลขบอกเวลาในไตเติ้ลข่าวเป็นตัวอักษรทางการขนาดใหญ่ สีขาว และมีชื่อรายการข่าวแต่ละช่วงอยู่ในบรรทัดล่าง โดยใช้ตัวอักษรแบบเดียวกันแต่มีขนาดเล็กกว่า และใช้พื้นหลังไตเติ้ลรายการข่าวช่วงดังกล่าวเป็นรูปลูกโลกหมุนและมีความสว่างของพื้นหลังเปลี่ยนไปตามช่วงเวลาที่ข่าวออกอากาศ ส่วนช่วงข่าวสุดสัปดาห์ 17.00 น. และข่าวสุดสัปดาห์ 24.00 น. จะใช้ตัวเลขบอกเวลาในไตเติ้ลข่าวเป็นตัวอักษรทางการขนาดใหญ่ สีขาวเช่นกัน แต่ตัวเลขดังกล่าวนี้จะอยู่ในป้ายจำลองสีดำที่ค่อยๆ พลิกป้ายเปลี่ยนเวลามาจนตรงกับเวลาออกอากาศของข่าวนั้น คล้ายนาฬิกาป้ายพลิกที่พบเห็นในปัจจุบันโดยทั่วไป และจะเขียนชื่อรายการข่าว "สุดสัปดาห์" ในบรรทัดล่างด้วยลายเส้นแบบเขียนมือแทนที่จะเป็นแบบอักษรที่เป็นทางการเหมือนเช่นข่าวภาคทั่วไป ซึ่งพื้นหลังไตเติ้ลรายการข่าวสุดสัปดาห์ 17.00 น. ใช้รูปลูกโลกหมุนเช่นเดียวกับข่าวภาคอื่นๆ แต่พื้นหลังไตเติ้ลรายการข่าวสุดสัปดาห์ 24.00 น. จะเปลี่ยนรูปลูกโลกเป็นรูปดวงจันทร์หมุนแทน และในช่วงข่าว 9.00น. ก็จะเปลี่ยนรูปแบบแผนที่โลกให้ดูเหลี่ยมๆ และใช้สีฉากเพื่อให้สมกับเวลาเช้า

ไทยพีบีเอสใช้ ??? สีส้มอมเหลือง ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - 14 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นสีประจำสถานี จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็น ??? สีส้มอมแดง ซึ่งใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงปัจจุบัน โดยสังเกตได้จากลูกบาศก์ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส บนด้ามไมโครโฟนที่ใช้สัมภาษณ์แหล่งข่าว และสีในสตูดิโอรายการที่นี่ไทยพีบีเอส และวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 สีส้มอมแดงได้ขยายไปเป็นสีในสตูดิโอทุกช่วงข่าวของสถานีมาจนถึงปัจจุบัน

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้รับ 8 รางวัล ดังต่อไปนี้ รางวัลเมขลามหานิยมแห่งปี จำนวน 4 รางวัล ได้แก่


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406